
ร้านค้าพึ่งพา ‘หุ่นยนต์’ แก้ปัญหาเงินเฟ้อ-ค่าแรงพุ่ง
ปัญหาตลาดแรงงานที่ตึงตัวในปัจจุบัน บวกกับค่าแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้น ตลอดจนแรงกดดันด้านการใช้จ่ายของผู้บริโภคกำลังบีบให้อุตสาหกรรมร้านค้าปลีกต้องดำเนินการเพื่อรับมือกับปัญหานี้ และการพึ่งพาหุ่นยนต์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้น
คลังสินค้าขนาดใหญ่ในเมืองรูสเซนดาล ทางตอนใต้ของประเทศเนเธอร์แลนด์ นำเครนอัตโนมัติและยานพาหนะไร้คนขับมาใช้เพื่อจัดกองเสื้อผ้าให้กับร้านค้าปลีกไพร์มาร์ค (Primark) ของฝรั่งเศสและอิตาลี เพื่อช่วยลดปัญหาการขาดแคลนคนงาน อีกทั้งยังลดต้นทุนในการจัดหาคลังสินค้าเพิ่มเติมได้อีกทางหนึ่งด้วย
แม้ว่าธุรกิจการค้าปลีกจะนำระบบอัตโนมัติมาใช้ช้ากว่าภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น ยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ แต่ถือว่าอัตราการพึ่งพาระบบนี้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่การนำระบบชำระเงินด้วยตนเองแบบง่าย ๆ มาใช้ในร้านค้า ไปจนถึงการใช้หุ่นยนต์และระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาใช้ในสายการผลิตและภาคบริการ
ข้อมูลจากองค์กรหุ่นยนต์ระดับนานาชาติ หรือ International Federation of Robotics ระบุว่าการติดตั้งหุ่นยนต์อุตสาหกรรมทั่วโลกเพิ่มขึ้น 31% ในปี 2021 เมื่อเทียบเป็นรายปี ในขณะที่ยอดขายหุ่นยนต์บริการเพิ่มขึ้น 37% โดยภาคค้าปลีกเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ
มาร์ค เชอร์ลีย์ (Mark Shirley) หัวหน้าฝ่ายโลจิสติกส์ของ Primark ที่ก่อตั้งขึ้นโดยชาวไอริชกล่าวว่าการลงทุน 25 ล้านยูโร หรือราว 900 ล้านบาท ในระบบอัตโนมัติของคลังสินค้าที่เมืองรูสเซนดาล จะเริ่มคืนทุนให้ปีละ 8 ล้านยูโรในอีก 4 ปีข้างหน้า นอกเหนือไปจากการประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะที่ไม่ต้องเช่าคลังสินค้าเพิ่มอีก
เขาประเมินว่าการใช้เครนอัตโนมัติแทนการใช้รถยกที่ต้องมีคนควบคุม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานในคลังสินค้าได้ถึง 80% เลยทีเดียว
และที่สำคัญคือ การใช้ยานยนต์ไร้คนขับหมายความว่าบริษัทไม่ต้องแข่งขันในตลาดแรงงานดัตช์ที่กำลังตึงตัวอย่างมากอีกต่อไป ซึ่งเป็นความท้าทายที่เกิดขึ้นในประเทศเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วหลาย ๆ ประเทศ
เชอร์ลีย์บอกกับรอยเตอร์ว่า เมื่อมองภาพรวมของอุตสาหกรรม ผู้คนหันมาใช้วิธีนี้เพื่อลดความเสี่ยงในด้านแรงงานเขาประเมินด้วยว่าอุตสาหกรรมการค้าปลีกราว 40% ล้วนใช้ระบบอัตโนมัติ และจะเพิ่มขึ้นเป็น 60-65% ในช่วง 3-4 ปีข้างหน้านี้
กองทัพหุ่นยนต์ที่เดินสวนสนามกันไปมาในนั้น เริ่มเห็นได้ตามร้านค้าแฟชั่นและร้านขายอาหารทั่วโลก ซึ่งปกติต้องพึ่งพาคนงานนับล้าน แต่ธุรกิจเหล่านี้กำลังเผชิญกับต้นทุนค่าจ้าง ค่าพลังงาน และค่าวัตถุดิบที่สูงขึ้น ขณะที่กำลังซื้อของผู้บริโภคเริ่มตึงตัว จากที่ผู้ค้าปลีกออนไลน์รายใหญ่ที่สุดของโลก อย่างแอมะซอน ได้เตือนว่างบประมาณในการจับจ่ายใช้สอยนั้นตึงตัว โดยเฉพาะในยุโรป
อย่างไรก็ตาม บรรดาผู้ค้าปลีกทั่วยุโรปต่างใช้แนวทางที่แตกต่างกัน อย่างเช่น คาร์ฟูร์ ผู้ค้าปลีกอาหารรายใหญ่ที่สุดในยุโรปได้ตั้งเป้าว่าจะลดต้นทุนและลดความซับซ้อนของประเภทสินค้าที่จำหน่าย ในขณะที่ เทสโก้ ซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ที่สุดของอังกฤษ กลับยอมรับในผลกำไรที่ลดลง
ในด้านบริษัท อินดิเท็กซ์ (Inditex) เจ้าของร้านเสื้อผ้า ซาร่า (Zara) ได้ขึ้นราคาเพื่อให้สอดรับกับต้นทุนที่พุ่งสูงขึ้น ในขณะที่ เอบี ฟู้ดส์ (AB Foods) เจ้าของไพร์มาร์ค กล่าวว่าผู้ค้าปลีกแฟชั่นที่มีราคาต้นทุนต่ำจะจำกัดการขึ้นราคา แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะแตะเลขสองหลักในตลาดหลายแห่ง เนื่องจากลูกค้าไม่สามารถจ่ายได้อีกต่อไป
อ่านข่าวเพิ่มเติม : ย้อนมหากาพย์ “ไทยคม-ดีอีเอส” หลังอนุญาโตฯชี้ขาดไทยคม7-8อยู่นอกสัมปทาน

ufabet888 ต่างกันอย่างไร
You May Also Like

กรมอนามัย เผย เด็กไทยติดเครื่องดื่มชงรสหวาน แนะ ทุกภาคส่วนจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการลดการบริโภคน้ำตาลในเด็ก
25 พฤศจิกายน 2022
ชูวิทย์ ขึ้นศาลฟ้อง ทนายตั้ม เรียกค่าเสียหาย 100 ล้าน ลั่นถ้าได้เงินมาจะไม่ใช้สักบาท
8 เมษายน 2023